อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นอันตรายหน้าฝน คือ การเล่นน้ำในฤดูฝน เนื่องจากเสี่ยงต่อการสัมผัสโดนพิษแมงกะพรุนได้มากกว่าปกติ เพราะฤดูฝนเป็นช่วงที่แมงกะพรุนชุกชุมเป็นพิเศษ จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการเล่นน้ำ หรือควรหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำทะเลในฤดูฝน เพราะถ้าถูกพิษแมงกะพรุน อาการรุนแรงอาจทำให้จมน้ำตายได้ และต่อให้พบซากแมงกะพรุนตายแล้วตามชายหาด ก็ไม่ควรไปสัมผัสหรือนำมาเล่น เพราะเสี่ยงต่อการสัมผัสพิษที่ยังหลงเหลืออยู่ อาจทำให้เมื่อโดนแมงกะพรุน คันหรือแสบร้อน เพราะแพ้พิษกะพรุนได้ แล้วถ้าเผลอโดนแมงกะพรุนรักษาอย่างไร ก่อนที่จะไปรู้ถึงวิธีแก้พิษแมงกะพรุน เรามาทำความเข้าใจถึงพิษแมงกะพรุนอันตรายแค่ไหนกันก่อน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าทำไมจึงควรหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหน้าฝน
แมงกะพรุนที่พบในไทยได้บ่อย คือ แมงกะพรุนไฟ ส่วนแมงกะพรุนที่ทำให้เสียชีวิตได้ คือ แมงกะพรุนกล่อง ที่กระแสน้ำพัดมาจากออสเตรเลีย แม้ว่าจะไม่ได้บ่อยนัก แต่ก็เกิดเหตุการณ์นักท่องเที่ยวโดนพิษแมงกะพรุนกล่องและเสียชีวิตมาแล้วหลายรายด้วยกัน โดยพิษของแมงกะพรุนทั่วไปจะอยู่ในหนวดที่กระเปาะ ซึ่งจะมีเข็มพิษจำนวนมาก เราอาจไม่เห็นตัวมันในขณะที่เล่นน้ำ แต่แค่หนวดแมงกะพรุนที่หลุดมาแล้วสัมผัสโดนตัวเรา ก็จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนังได้ทันที
แมงกะพรุนมีหลายชนิดด้วยกัน ทั้งแมงกะพรุนที่กินได้ ที่เรามักจะคุ้นเคยและเห็นในเมนูอาหารต่าง ๆ ซึ่งแมงกะพรุนที่กินได้ คือ แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ในขณะที่แมงกะพรุนมีพิษ ตัวจะมีสีคล้ำ ๆ แดง ๆ คือ แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนกล่อง ไม่ควรนำมากิน หรือสัมผัสเล่นเด็ดขาด แต่ควรอยู่ให้ห่างไกลที่สุด เพราะอันตรายถึงตายได้เลย
พิษของแมงกะพรุนแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่พิษของแมงกะพรุนจะส่งผลต่อผิวหนัง รู้สึกปวดแสบปวดร้อน และมีอาการผิวหนังอักเสบตามมา แต่แมงกะพรุนบางชนิดมีพิษรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิตได้ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยเฉพาะ แมงกะพรุนกล่อง หรือ Box Jellyfish
หลายคนที่ไม่รู้ว่าโดนแมงกะพรุนทายาอะไรดี ซึ่งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหลังจากที่สัมผัสแมงกะพรุน
อย่างไรก็ตาม หากไม่รู้จักชนิดแมงกะพรุนดีพอ หรือไม่แน่ใจ ไม่ควรสัมผัสแมงกะพรุนที่พบในทะเล ไม่ว่าจะเป็นแมงกะพรุนที่มีชีวิตหรือแมงกะพรุนที่ตายแล้วก็ตาม เพราะพิษของแมงกะพรุนอาจทำให้เราแพ้รุนแรงและเสียชีวิตได้