ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านดีไหม และมีค่าใช้จ่ายเท่าไร

K

เมื่อผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากค่าน้ำมันรถที่แพงแทบทะลุเพดานขึ้นทุกวัน สวนทางกับค่าแรงกันสิ้นเชิง ทำให้รถไฟฟ้า ประเภทรถ EV หรือ รถ Plug in Hybrid เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ใช้รถในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดกว่าการใช้น้ำมันมากถึง 2 เท่าตัว ยังช่วยในเรื่องของพลังงานสะอาดอีกด้วย 

แต่เมื่อเป็นระบบรถไฟฟ้า แน่นอนว่าย่อมต้องมีการชาร์จไฟ เหมือนกับที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะนี้ก็เริ่มมีที่ชาร์จรถไฟฟ้าในไทยบริการตามจุดต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อตอบรับกับการใช้งานของผู้บริโภค แต่เชื่อว่าทุกคนที่ซื้อรถไฟฟ้าแล้ว ย่อมต้องการมีที่ชาร์จเป็นของตัวเอง เพราะแบตหมดเมื่อไรจะได้เติมได้ตลอด แม้ว่าทางค่ายรถบางยี่ห้อจะแถมที่ชาร์จมาให้ด้วย แต่บางค่ายก็ไม่ได้แถมให้ ทำให้ต้องคอยหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ราคาก็ใช่ว่าจะถูก ส่วนจุดชาร์จรถไฟฟ้าฟรีไม่ได้มีทุกแห่ง แถมยังต้องต่อคิวยาวอีกต่างหาก 

การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าบ้านจึงถือว่าตอบโจทย์ให้กับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้ามากที่สุด เพราะสะดวก ชาร์จแบตได้ตลอด ซึ่งตอนนี้ตลาด EV Charger เองก็มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบต่าง ๆ มีการผลิตออกมาจำหน่ายเพื่อรองรับความต้องการของใช้รถ EV ทั้งกลุ่มผู้ที่มีรถไฟฟ้าแล้วทางค่ายไม่ได้แถมที่ชาร์จมาให้ และกลุ่มที่ต้องการติดที่ชาร์จรถไฟฟ้าบ้านให้ครบทุกจุดของบ้านทุกหลัง ปัญหาที่พบได้บ่อยของรถไฟฟ้า คือ การเลือก EV Charger ยี่ห้อไหนดี และการปรับปรุงระบบไฟฟ้าก่อนทำการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน 

ev charger car station charging use ac socket plug 2023 03 18 01 19 13 utc (1)

รูปแบบการชาร์จรถไฟฟ้า (mode) และ ชนิดของหัวชาร์จ (type) ที่รองรับการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน 

รูปแบบการชาร์จไฟฟ้า (Electric vehicle charging modes) มาตรฐาน IEC 61851-1 หรือ Electric vehicle conductive charging system ได้กำหนดรูปแบบการชาร์จรถไฟฟ้าไว้ดังนี้ 

  1. Mode 1 การเชื่อมต่อไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า (AC) ผ่านเต้ารับมาตรฐาน ซึ่งไม่มีการใช้อุปกรณ์ควบคุม แต่จะต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A (มอก. 61851 ได้ห้ามชาร์จไฟโหมด 1 แล้วในปัจจุบัน)
  2. Mode 2 การติดตั้งไฟฟ้าของรถ EV เข้ากับระบบไฟฟ้า (AC) ผ่านเต้ารับมาตรฐาน ที่มีการใช้อุปกรณ์ควบคุมและระบบป้องกันในสาย (IC-CPD) โดยมีพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 32 A (สายชาร์จที่ทางค่ายรถให้มาพร้อมกับตัวรถก็มักจะเป็นโหมด 2 เช่นกัน)
  3. Mode 3 การเชื่อมต่อไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า โดยผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ยานยนต์โดยเฉพาะ
  4. Mode 4 การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าบ้านเข้ากับระบบไฟฟ้า โดยผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (DC) สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยตรง 

ชนิดหัวชาร์จรถไฟฟ้า (Electric vehicle socket type) มีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะรองรับรูปแบบและปริมาณไฟฟ้าสำหรับการชาร์จที่แตกต่างกันไป แต่จะมีเต้ารับและเต้าเสียบแบบกระแสสลับ (AC) ตามมาตรฐาน IEC 62196-2 และการชาร์จไฟแบบกระแสตรง (DC) ตามมาตรฐาน IEC 62196-3 

หัวชาร์จ AC ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มี 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 

  1. Type 1 connector (SAE J1772) คือ หัวชาร์จชนิด AC ที่สามารถรองรับกระแสสูงสุดขณชาร์จได้ 32 A (1 phase 250 V) ซึ่งนิยมใช้กันมากในญี่ปุ่นและอเมริกา 
  2. Type 2 connector (IEC 62196-2) คือ หัวชาร์จชนิด AC ที่สามารถรองรับกระแสสูงสุดขณะชาร์จได้ 63 A ( 3 phase 480 V) นิยมใช้ในสหภาพยุโรป 

electric car evs battery being charged 2022 12 15 23 17 12 utc (1)

การติดตั้ง EV Charger ใช้เงินเท่าไร

โดยราคาค่าเครื่อง EV Charger และค่าติดตั้ง รวมถึงค่าขอเปลี่ยนมิเตอร์ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ ขนาดมิเตอร์ไฟเดิมของบ้าน จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด 

สำหรับที่ชาร์จรถไฟฟ้า ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของกำลังไฟฟ้าที่เราต้องการ ซึ่งความสามารถในการรับไฟของรถ EV แต่ละรุ่นจะมีตั้งแต่ ขนาด 3.6 kW ไปจนถึง 22 kW โดยมี On Board Charger เป็นตัวควบคุมการดึงพลังงานไฟฟ้า เพื่อสั่งการไปยังเครื่อง EV Charger และราคาของเครื่อง EV Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อด้วย โดยจะมีตั้งแต่ 15,000 บาท ไปจนถึงหลักแสนบาท

เครื่อง EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านจะเป็นเครื่องชาร์จแบบ AC คือ ระบบกระแสไฟสลับ ซึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มี 2 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ ขนาด 3.6 kW และ ขนาด 7.2 kW โดยขนาดมิเตอร์ที่ใช้เมื่อติดกับไฟบ้านก็จะต่างกัน เพราะขนาดกำลังไฟฟ้าที่ต้องใช้ต่างกัน ระหว่าง 1 เฟส กับ 3 เฟส ดูจาก On Board Charger ว่ามีโหลดกำลังไฟเท่าไรในรถแต่ละรุ่น 

  1. Output ขนาด 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งไฟบ้าน 1 เฟส ได้กำลังไฟ 3.6 kW (3.6×1) 
  2. Output ขนาด 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งไฟบ้าน 1 เฟส ได้กำลังไฟ 11 kW (3.6×3) 
  3. Output ขนาด 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งไฟบ้าน 3 เฟส ได้กำลังไฟ 7.2 kW (7.2×1)
  4. Output ขนาด 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งไฟบ้าน 3 เฟส ได้กำลังไฟ 22 kW (7.2×3)

จากนั้นจึงนำมาเลือกขนาดเครื่องชาร์จที่ให้กำลังไฟใกล้เคียงกัน และดูว่าเครื่องชาร์จใช้กำลังไฟกี่แอมแปร์ แล้วนำไปเทียบกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อพิจารณาว่าควรเปลี่ยนขนาดมิเตอร์หรือไม่ โดยบริษัทที่บริการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน จะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินหน้างานก่อนทำการติดตั้ง EV Charger

ติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน มีค่าใช้จ่ายเท่าไร 

สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนจะทำการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า คือ ต้องรู้ก่อนว่ามิเตอร์ที่บ้านของเรามีขนาดเท่าไร และโหลดได้สูงสุดเท่าไร เพื่อจะได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ที่มาประเมินหน้างานก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จไฟ โดยบ้านเรือนทั่วไปที่อยู่ในเขตการดูแลของ MEA มักติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 เฟส ให้กำลัง 30A แต่ถ้าอยู่ในเขตการดูแลของ PEA จะให้กำลังไฟ 36A เมื่อเทียบการใช้กำลังไฟของเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟ 16A ที่เป็นรุ่น 3.6 kW ถือว่าสามารถใช้ได้ แต่ต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบการใช้งานปริมาณไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านด้วย เพื่อป้องกันไฟตกเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ

โดยควรจะคำนวณควบคู่ไปกับการใช้ไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านเป็นหลัก จากนั้นจึงนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกชนิดและยี่ห้อของเครื่อง EV Charger ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับการใช้งาน และมีมาตรฐานสากล IEC , EN รับรองความปลอดภัย และมีชื่อเสียง เช่น EV Charger รุ่น EV Link ของแบรนด์ Schneider จากประเทศฝรั่งเศส ที่วงการระบบไฟฟ้ารู้จักและให้ความเชื่อถือกันเป็นวงกว้างมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เครื่อง EV Charger ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์กันดูดในตัว มีระบบป้องกันไฟตก ปรับค่าพลังงานและกระแสไฟได้ ลดภาระในการติดตั้ง ทำให้ติดตั้งง่าย และยังเป็นที่ชาร์จรถไฟฟ้าราคาสบายกระเป๋า ช่วยตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคที่จำเป็นต้องหันมาใช้รถไฟฟ้าในยุคนี้ได้ดี สะดวกและหาซื้อง่าย โดยมีจำหน่ายที่ SQD Group ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด บริการให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญเฉพาะทางและช่างไฟฟ้ามืออาชีพ เพียงเท่านี้คุณก็จะมี EV Charger คอยเติมแบตที่บ้านได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ไม่ต้องคอยหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า และไม่ต้องไปต่อคิวให้เสียเวลาอีกต่อไปแล้วค่ะ