ผู้ป่วยที่ต้องทำการฟอกไต ใช้สิทธิ 30 บาทได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

K

สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือมีญาติ คนใกล้ชิดเป็นผู้ป่วยโรคไต อาจยังไม่ทราบถึงสิทธิการฟอกไต สปสช 2565 ที่ได้มีการเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 หรือบางคนอาจสงสัยว่า สามารถฟอกไตฟรี บัตรทองใช้ได้ไหม และถ้าต้องการยื่นเรื่องฟอกไตฟรี บัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร รอช้าอยู่ไย ไปเช็กเงื่อนไขสิทธิฟอกไตบัตรทองกันเลยดีกว่าค่ะ 

doctor hands holding kidneys shape health care medical insurance concept

การฟอกไตคืออะไร 

ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าการฟอกไตคืออะไร จะได้เข้าใจว่าอยู่ในเงื่อนไขของการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทหรือไม่ การฟอกไต คือ การใช้เครื่องฟอกเลือดเพื่อนำเลือดเสียออกจากร่างกายแทนการทำงานของไตที่เหลือประสิทธิภาพน้อยลง และจะต้องใช้เครื่องฟอกนี้ไปตลอด เพราะหากหยุดฟอกไตเมื่อไร จะทำให้เกิดสภาวะไตวายได้อีก ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องฟอกไตไปตลอดจนกว่าจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งนั่นค่อนข้างจะใช้เวลานานหลายปีเลยทีเดียว 

แพทย์จะใช้ยากระตุ้นในการสร้างเลือดควบคู่ไปด้วยในระหว่างทำการฟอกเลือด เพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพ แต่มีผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากจะต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาอย่างต่อเนื่องและในระยะยาว รวมไปถึงเมื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ก็ต้องทานยากดภูมิต้านทานต่อไตใหม่อีกด้วย 

hologram kidneys human body

สิทธิการใช้บัตรทองเพื่อฟอกไตฟรีมีจำกัดไหม 

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องทำการฟอกไตในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 150,000 คน ทำให้มีผู้ป่วยโรคไตสามารถเข้าถึงในการใช้บริการสถานพยาบาลตามที่กำหนดของ สปสช. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ประมาณ 30,000 คน โดยมีเงื่อนไขในการใช้สิทธิบัตรทองฟอกไตฟรี ดังนี้ 

young woman with pain kidneys

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการฟอกไตฟรีด้วยบัตรทอง 30 บาท 

ผู้ป่วยที่สามารถใช้สิทธิบัตรทองทำการฟอกไตฟรีจะต้องได้รับยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และผ่านมติการเห็นชอบของคณะกรรมการระดับเขต ดังนี้ 

  • ผู้ป่วยมีสิทธิบัตรทอง 30 บาท ในวันที่เข้ารับการบริการบำบัดไต 
  • ผู้ป่วยต้องเข้ารับบริการและใช้สิทธิในสถานพยาบาล หรือคลินิกที่ขึ้นทะเบียนให้บริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
  • ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ว่าไม่สามารถใช้วิธีล้างไตผ่านช่องท้องได้ 
  • ผู้ป่วยมีข้อห้ามของการฟอกเลือดตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีล้างไตผ่านทางช่องท้องเป็นการฟอกเลือด 
  • ผู้ป่วยมีรอยโรคบริเวณผิวหนังที่หน้าท้องที่ไม่สามารถวางสายได้ 
  • ผู้ป่วยมีผังผืดภายในช่องท้อง ไม่สามารถวางสายได้ 
  • ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจบกพร่องอย่างรุนแรง 

doctor looks kidney hologram checks test result virtual interface analyzes data kidney disease stones innovative technologies medicine future

ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิบัตรทองฟอกไตได้กี่วิธี 

นอกจากนี้ทาง สปสช.ได้มีนโยบาย “เลือกฟอกไตในแบบที่ใช่ ได้ทุกคน” เพื่อปรับให้เข้ากับความเหมาะสมของผู้ป่วยโรคไตเป็นรายบุคคล โดยสามารถใช้บัตรทองฟอกไตด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis or HD)

ใช้เครื่องฟอกนำเลือดออกจาเส้นเลือดผ่านตัวกรองที่เรียกว่า dialzer โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัดเส้นเลือดสำหรับนำเลือดออกจาร่างกาย  

  • ข้อดี 

  • ไม่ต้องทำเอง มีพยาบาลผู้ผ่านการฝึกอบรมและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยให้บริการ
  • ฟอกเพียง 2-3 ครั้ง / สัปดาห์ และใช้เวลาฟอกเพียงครั้งละ 4 ชั่วโมง 

  • ข้อเสีย 

  • ต้องเดินทางไปสถานบริการไตเทียมเป็นประจำ 
  • มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าเดินทาง
  • มีภาวะเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจบางชนิด 

2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis or PD)

ฟอกไตด้วยการอาศัยผนังช่องท้องเป็นตัวกรอง เพื่อนำของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัดผนังช่องท้องเพื่อวางสายล้างไต โดยวิธีนี้ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้านถึง 2 แบบด้วยกัน คือ ทำเองแบบ CAPD หรือ ใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติ APD 

  • ข้อดี 

  • สามารถทำเองได้ที่บ้านไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง 
  • ลดโอกาสติดเชื้อจากสถานพยาบาล ในกรณีที่ทำเองที่บ้านอย่างถูกวิธีทุกขั้นตอน
  • ลดความเสี่ยงต่อความดันตกในขณะฟอกเลือด 

  • ข้อเสีย

  • มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายหากทำผิดวิธี ข้ามขั้นตอน หรือความสะอาดไม่เพียงพอ 
  • ไม่สะดวกในการพกพากรณีที่ต้องมีการเดินทางหรือไปค้างแรมนอกสถานที่