ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ส่งผลต่อการกินจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทำให้หลายคนเป็นโรคทางเดินอาหารกันมากขึ้น อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งการเร่งรีบเดินทางในช่วงที่มีสภาพจราจรติดขัด เวลาจำกัดช่วงพักกลางวัน ทำให้ต้องทานอาหารอย่างเร่งรีบ เคี้ยวไม่ละเอียด และรวมไปถึงการใช้เวลานั่งทำงานนาน ๆ หลังอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะอาหาร เป็นกรดไหลย้อน เพราะอาหารไม่ย่อย หรือกระเพาะอาหารอักเสบ มีแผลในกระเพาะ รวมไปถึงระบบขับถ่ายไม่ดี มีอาการท้องผูก อุจจาระผิดปกติ และริดสีดวงทวาร
การรักษาโรคระบบทางเดินอาหารด้วยศาสตร์สมุนไพร แพทย์แผนไทย จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการวินิจฉัยของโรค เพื่อเลือกใช้วิธีการรักษาและสมุนไพรที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ดังนี้
1. การใช้สมุนไพร
หลังจากที่ได้ผลวินิจฉัยของโรค แพทย์จะทำการพิจารณาและเลือกใช้เครื่องยาสมุน ซึ่งมีทั้งสมุนไพรเดี่ยว สมุนไพรตามตำรับยา บัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสมุนไพรส่วนงานสาธารณสุขมูลฐาน ตำรับยาสมุนไพรในโรงพยาบาล หรือ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ รวมถึงยาอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับอาการของโรคในผู้ป่วย
2. หัตถการแพทย์แผนไทยหัตถเวชกรรมแผนไทย
หัตถการ หรือ หัตถเวชกรรมแผนไทย คือ การรักษาโดยการใช้หลักของการนวดเส้นพื้นฐาน ด้วยการกดจุดนวด เพื่อฟื้นฟูอาการในผู้ป่วยให้ดีขึ้น
3. การประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพร คือ การนำลูกประคบที่มีสมุนไพรอยู่ด้านใน มากด คลึง และประคบบริเวณที่มีอาการ เพื่อช่วยบรรเทาและฟื้นฟูอาการของโรค
4. ให้คำปรึกษาและแนะนำ
แพทย์แผนไทยจะให้คำแนะนำวิธีการดูแลตัวเอง เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติรักษาอาการ และบำบัดโรคตามแนวทางแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการทุเลาและหายจากโรคทางเดินอาหาร
การรักษาโรคทางเดินอาหารด้วยสมุนไพรไทย สามารถแบ่งได้ตามกลุ่มอาการ ดังนี้
1. อาการเบื่ออาหาร
อาการเบื่อหาร เนื่องจากโรคทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่เจริญอาหาร กินไม่ค่อยลง ปฏิเสธแม้กระทั่งของโปรดที่เคยชอบกิน ซึ่งการเบื่ออาหารเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพทางกาย ปัญหาสุขภาพทางจิต ความเครียด วิตกกังวล หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด สมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่
2. ปวดท้อง มีลมในกระเพาะอาหาร
ผู้ที่มีลมในท้องมากเกินไป จะมีอาการของโรค ปวดท้องน้อย จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาอาการด้วยสมุนไพร ดังนี้
3. กระเพาะอาหารอักเสบ
ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย เสียดท้องเป็นประจำ อาจมีแผลหรือการอักเสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการโรคทางเดินอาหารด้วยสมุนไพร ต่อไปนี้
4. ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร มักจะมีอาการอึดอัดในท้อง ไม่สบายท้อง ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ และอาเจียน สมุนไพรช่วยลดอาการเหล่านี้ ได้แก่
5. ระบบขับถ่าย อุจจาระผิดปกติ
ผุ้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีอาการเกี่ยวกับการขับถ่าย ท้องเสีย ท้องเดิน บิด ธาตุพิการ ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายดำ แพทย์แผนไทยจะใช้สมุนไพรที่เกี่ยวกับอาการถ่ายท้อง ดังนี้
6. ริดสีดวงทวาร
อาการโรคริดสีดวงทวาร นอกจากจะมีเลือดไหล สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังต้องทรมานกับการขยับ หรือเมื่อต้องเปลี่ยนท่านั่ง หรือมีการเคลื่อนไหว แพทย์แผนไทยจะทำการแก้อาการริดสีดวงทวารด้วยสมุนไพรต่อไปนี้