วัคซีนที่ควรฉีดในผู้ใหญ่มีอะไรบ้าง

K

หลายคนเข้าในว่าเราได้รับวัคซีนมากมายเมื่อตอนเป็นเด็กแล้ว ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเพียงพอแล้ว โตขึ้นคงไม่ต้องฉีดวัคซีนอะไรอีก แต่นั่นไม่จริงเลย เพราะเมื่อเรามีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการเสื่อมสภาพลง ประสิทธิภาพของวัคซีนก็เช่นกัน อาจอ่อนกำลังหรือหมดอายุได้ จึงจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนซ้ำ เพื่อไปกระตุ้นของเดิมที่อาจยังหลงเหลืออยู่แต่เสื่อมลง ให้กลับมามีประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีดังเดิม รวมถึงโรคใหม่ ๆ ที่อาจได้รับเชื้อเมื่อเติบโตขึ้น เช่น โรค HIV จากเพศสัมพันธุ์ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น และวัคซีนป้องกันโรคบางชนิดอาจไม่เคยได้รับเมื่อตอนเป็นเด็ก และปัจจุบันมีวัคซีนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น เราจึงต้องถือโอกาสนี้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ใหักับร่างกายของเรา ลดโอกาสเกิดโรคเจ็บป่วยหนัก และช่วยอัตราการเสียชีวิตอีกด้วย 

Glass vials for vaccine in laboratory. Group of vaccine bottles.

วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีดมีอะไรบ้าง 

  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza vaccine ซึ่งเป็นวัคซีนที่ต้องฉีดทุกปี เพราะเชื้อไข้หวัดใหญ่มักมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ได้บ่อย โดยในประเทศไทยมักจะมีการระบาดในช่วง ฤดูฝน และ ฤดูหนาว  
  • วัดซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ชนิดไร้เซลล์ Tdap หรือ TdaP หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าวัดซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ฉีดกี่ครั้งถึงจะดี แนะนำว่าให้ฉีดป้องกันบาดทะยักในคนทั่วไป 3 ครั้ง โดย 1 ใน 3 นั้นควรเป็น วัคซีน Tdap หรือ TdaP และฉีดกระตุ้นบาดทะยักทุก 10 ปี 
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ หรือ Hepatitis A vaccine โดยโรคนี้จะได้รับเชื้อจากการอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง หรืออาศัยอยู่ในชุมชนแออัด โดยควรฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ให้ห่างกัน 6-12 เดือน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ได้ประมาณ 10 ปี หรือ ฉีดเพียงครั้งเดียวหากฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น 
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือ Hepatitis B vaccine เป็นวัคซีนที่ควรฉีดอย่างยิ่ง เพราะคนติดเชื้อส่วนใหญ่เมื่อหายจากการเป็นไวรัสตับอักเสบบี มักจะกลายเป็นพาหะของโรค สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ โดยการแพร่เชื้อทางเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น แม่สู่ลูกในครรภ์ ทางเพศสัมพันธ์ การใช้สิ่งของร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนี้ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง และอาจกลายไปเป็นมะเร็งตับในอนคตได้ ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเมื่อฉีดเข็มแรก ควรห่างประมาณ 1-2 เดือน จึงฉีดเข็มที่ 2 และ ฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก ประมาณ 6-12 เดือน 
  • วัคซีนป้องกันเอชพีวี HPV vaccine ซึ่งเป็นวัคซีนที่ควรฉีดผู้หญิงตั้งแต่อายุ 9-45 ปี เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ไม่ควรฉีดในหญิงตั้งครรภ์ และหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรเข้ารับการตรวจภายใน และคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ 
  • วัคซีนที่ผู้ชายควรฉีดเป็นอย่างยิ่ง คือ วัคซีนป้องกันเอชพีวี HPV vaccine เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณทางทวารหนัก มะเร็งทวารหนัก และ โรคหูดหงอนไก่ 
  • วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด Herpes zoster ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ควรได้รับ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดได้ง่ายที่สุด โดยวัคซีนจะมีประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก ดังนั้นผู้ที่จะทำการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ก่อน และฉีดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องฉีดซ้ำเพื่อกระตุ้น 
  • วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม Measles-Mumps-Rubella vaccine หรือ MMR สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือ ได้รับวัคซีนไม่ครบทั้ง 2 ครั้ง และไม่เคยป่วยเป็นโรคนี้เหล่านี้มาก่อน ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน หรือ วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม อย่างน้อย 1 ครั้ง และงดการตั้งครรภ์เป็นเวลา 3 เดือนหลังจากได้รับวัคซีน 
  • วัคซีนนิวโมคอคคัส Pneumococcal vaccine ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ในเด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป รวมไปถึงผู้ป่วยเรื้อรัง โดยควรฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ 13 สายพันธุ์ เพียงครั้งเดียว และกระตุ้นอีกครั้งด้วยการฉีดวัคซีนชนิด 23 สายพันธุ์ หลังจากฉีดครั้งแรกครบ 1 ปี 

Vaccine administration on an elderly patient

ดังนั้น ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อจะได้ทำพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและทำการรักษาได้ทันท่วงที และอย่าลืมปราการอีกด่านสำคัญของการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการ “ฉีดวัคซีน”