หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้อง I C U เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้เผยข้อมูลมีการพบว่า โอมิครอน BA.5 อยู่ในช่วงขาขึ้น และได้ทำการเตือนเฝ้าระวัง ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และ ฝีดาษลิง จะระบาดในไทย อย่างแน่นอน
โดยหมอมนูญได้กล่าวถึงการติดตามข้อมูลระบาดวิทยา ว่า เดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของโรงพยาบาลที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อประจำถิ่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV) และ Human metapneumovirus (hMPV) สำหรับไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นโรคระบาดรุนแรง ไม่มีแนวโน้มลดลงเป็นโรคประจำถิ่น เพราะพบผู้ติดเชื้อทั้งจากการตรวจ ATK และ RT-PCR สูงที่สุดในรอบปี ซึ่งสูงกว่าการระบาดใหญ่ในเดือนมีนาคม โดยพบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยเป็นเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ RSV และ เชื้อไวรัสทางเดินหายใจ hMPV Human metapneumovirus และนอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยติดเชื้อโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยเป็นรายล่าสุดที่ผ่านมานั้น หลังจากมีเจ้าหน้าที่ของรัฐฯบางคนออกมาแจ้งว่าสถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง ในขณะที่ WHO ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุข และอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง!!
โรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสฝีดาษ หรือโรคไข้ทรพิษ มีอาการของโรคไม่รุนแรง ความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ ส่วนใหญ่จะพบได้หลายพื้นที่ของแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก มักจะพบในเด็กเล็กได้มากกว่า ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกต และดูแลบุตหลานอย่างใกล้ชิด
โรคฝีดาษลิงมีความรุนแรงแค่ไหน? จะสามารถแพร่เชื้อได้เหมือนโรคโควิด-19 หรือไม่? และจะสามารถเข้าทำการรักษาตัวได้ที่ไหนบ้าง? เราได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้มาไว้ให้แล้ว เพื่อจะได้เตรียมรับมือและดูแลตัวเอง
ส่วนกรณีการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากการนั่งส้วมหรือใช้ห้องน้ำสาธารณะนั้น มีความเป็นไปได้ต่ำ นอกเสียจากกว่า ผู้ป่วยมีตุ่มที่อวัยวะเพศหรือบริเวณที่สัมผัสฝารองนั่งชักโครก แล้วตุ่มแตกหนองเลอะหรือติดที่ชักโครก แล้วผู้ที่เข้าใช้นั่งส้วมต่อจากนั้นเกิดมีแผลตามบริเวณอวัยวะที่สัมผัสกับฝารองนั่งชักโครก หรือสัมผัสกับรอยสารคัดหลั่งของผู้ป่วยก่อนหน้านี้ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกายจากบาดแผล ดังนั้นการแพร่เชื้อจึงยังคงเป็นการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง ไม่ใช่จากปัสสาวะ
หลายคนที่กังวลว่าจะมีการระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) แบบโควิด-19 จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ลักษณะการแพร่เชื้อไวรัสโรคฝีดาษลิง จะผ่านการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นหลัก แต่ก็ยังมีการแพร่และติดต่อกันได้ในทางระบบทางเดินหายใจ อันมาจากละอองฝอยขนาดใหญ่ แต่ก็ยังมีเพียงส่วนน้อย ซึ่งอย่างไรก็ตามเราก็ยังต้องคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ
หากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าจะเข้าข่ายติดเชื้อฝีดาษลิง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง และทันท่วงทีในการรักษา หากพบว่าติดเชื้อจะได้แยกตัวออกจากผู้อื่น งดการมีเพศสัมพันธุ์ด้วย เพื่อไม่ไปแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ จนกว่าจะตกสะเก็ดหมด และจะได้รับยาจากแพทย์ตามอาการได้อย่างถูกต้อง หรือโทรปรึกษาอาการของโรคฝีดาษลิงที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสามารถเข้ารักษาตัวได้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของตนเอง หรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ทุกแห่ง เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิ์ที่รักษาประจำ
ขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้หากมีไข้ เป็นต้น และอาจมีการให้ยาต้านไวรัส Cidofovir , Brincidofovir และ Tecoviramet ในบางกรณี แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสามารถหายได้เอง แต่ก็มีเช่นกันที่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิง โดยกลุ่มเสี่ยงก็คือ เด็กเล็ก
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรโดยเฉพาะ แต่หลักฐานทางการแพทย์พบว่าวัคซีนไข้ทรพิษ (Smallpox) สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%
การรับวัคซีนในปัจจุบันจะพิจารณาให้กับผู้เสี่ยงสูงต่อการสัมผัสและติดเชื้อ ซึ่งได้แก่
ส่วนประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับวัคซีนในขณะนี้