เมื่อผู้คนหันมาให้ความสนใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความสนใจและมียอดขายเพิ่มมากขึ้นในบ้านเรา แม้ว่ากระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ในหลาย ๆ ประเทศจะมีมาสักพักแล้วก็ตาม เนื่องจากข้อดีของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า คือ ช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศโลก และเพื่อตอบรับการใช้งานของผู้บริโภค ทำให้มีบริการจุดชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV (Electric Vehicle) ในหลาย ๆ พื้นที่มากขึ้น แต่นอกจากจะสามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้ที่จุดบริการเอกชน หรือสถานีชาร์จสาธารณะแล้ว ยังสามารถชาร์จไฟที่บ้านได้อีกด้วย
ติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านดีอย่างไร
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน คือ วิธีที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานที่สุด หากติดตั้งเครื่องชาร์จรถยน์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน ยิ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับรถและบ้านของคุณ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า สามารถเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางได้ตลอดเวลา และไม่ต้องไปคอยต่อคิวที่จุดบริการ ซึ่งอาจไม่ได้อยู่ใกล้บ้าน แถมบางสถานีชาร์จรถไฟฟ้าค่าบริการก็ไม่ใช่ถูก ๆ เลย และบางจุดบริการที่ชาร์จไม่มีประสิทธิภาพ จนทำให้เสียเวลานานและอาจยาวนานหลายชั่วโมงกว่าที่แบตจะเต็ม
ความเร็วในการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะขึ้นอยู่รูปแบบการชาร์จ
โดยการชาร์จจะวัดเป็นกิโลวัตต์ หากเครื่องชาร์จรถไฟฟ้ามีความเร็วที่ 3.7 kW จะให้ระยะทางประมาณ 15 – 30 ไมล์ / ชั่วโมง แต่รถ EV ที่มี 60kWh ทั่วไป ที่มีเครื่องชาร์จ 7kW จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กกว่า 30kWh อาจชาร์จไฟไม่เกิน 6 ชั่วโมง
ข้อถกเถียงที่เป็นประเด็นเมื่อไม่นานมานี้ ถึงวิธีการชาร์จรถไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัย ทำให้หลายคนสงสัยว่าชาร์จรถไฟฟ้าต้องดับเครื่องไหม
ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้บ่อยแค่ไหน
ความถี่ของการชาร์จไฟรถ EV ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน หากไม่ค่อยได้ใช้รถ หรือแบตยังมีเกือบเต็ม ก็ไม่จำเป็นต้องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกวัน เพราะการชาร์จรถทุกวันใช่ว่าจะดีนัก เหมือนกับการชาร์จมือถือ หากชาร์จบ่อย ๆ แบตได้รับความร้อนมากเกินไป ส่งผลให้แบตเสื่อมเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานได้นาน ๆ ควรมีการวางแผนการเดินทางทุกครั้ง เพื่อลดความถี่ที่จะต้องชาร์จไฟรถบ่อย ๆ และยังเป็นการประหยัดค่าไฟไปในตัวด้วย