ระวัง! ผักผลไม้ใกล้ตัวที่อันตรายกว่าที่คุณคิด มีอะไรบ้าง

K

ลิ้นจี่ 

ภายใต้เปลือกนอกที่แหลมคม อาจจะมีเนื้อที่น่ากินหวานฉ่ำน่ารับประทานและสวยงามอยู่ แต่คุณอาจไม่รู้ว่ามันอาจจะมีพิษร้ายแรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณได้ 

แต่ถ้ารับประทานเร็วเกินไป โดยเฉพาะคนที่ไม่ทานอาหารมื้อเย็นหรือในเด็กที่อยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหาร ผลไม้รสหวานนี้อาจจะเป็นพิษและบางครั้งสามารถให้ฤทธิ์ถึงตายได้ โดยตัวอย่างที่ให้เห็นเมื่อเร็วๆก็คือ โรคลึกลับจากเมืองมูซาฟฟาร์ปูร์ในอินเดีย ที่ส่งผลกระทบอย่างหนัก เมืองมูซาฟฟาร์ปูร์ โดยเมืองที่ผลิตและขายส่งออกลิ้นจี่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยในแต่ละปี มีเด็กหลายร้อยคนในอินเดียได้เข้าโรงพยาบาลโดยมีอาการได้แก่ ไข้และชัก โดยมีรายงานล่าสุดเผยว่าอาจเกิดจากสารพิษที่ได้รับจากลิ้นจี่ดิบ เมื่อรวมกับน้ำตาลในเลือดต่ำ สารพิษเหล่านี้อาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดลงหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งพวกมันจะทำหน้าที่ขัดขวางการผลิตน้ำตาลในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมากในขณะเรานอนหลับและน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างยิ่ง

 

ดร. ปัทมีนี ศรีกันติยา จากสำนักงานศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในอินเดียซึ่งเป็นผู้นำการสอบสวนใน เมืองมูซาฟฟาร์ปูร์ ได้กล่าวว่าการทานลิ้นจี่อย่างผิดวิธีอาจนำไปสู่โรคไข้สมองอักเสบ (encephalopathy) 

“สารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในผลลิ้นจี่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นพิษที่สามารถนำไปสู่โรคไข้สมองอักเสบ” เขากล่าวเพิ่มอีกว่า “ค่อนข้างเป็นไปได้ที่เมื่อการเผาผลาญกลูโคสหยุดชะงัก โดยทำให้คุณได้รับสารเมตาโบไลต์อื่นๆ ที่สะสมอยู่ซึ่งอาจส่งให้เป็นพิษด้วยเช่นกัน” โดยเฉพาะเหยื่อที่ยังเด็กและขาดสารอาหาร ผลกระทบก็จะยิ่งมากขึ้น

แต่ลิ้นจี่ไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตจากธรรมชาติอย่างเดียวที่จะเป็นพิษต่อเราหากรับประทานผลดิบหรือยังไม่ได้รับการแปรรูป

ปีเตอร์ สเปนเซอร์ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและอาชีวอนามัยที่มหาวิทยาลัยโอริกอน กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดจากธรรมชาติทั้งหมดที่ว่าดีต่อร่างกาย เป็นเพียงแค่เรื่องเล่าเท่านั้น … เรารับประทานผักและผลไม้ที่อาจมีสิ่งเลวร้ายที่เรามองไม่เห็นอยู่”  

 

แอคกี่

ผลไม้แอคกี่ คืออะไร อันตรายยังไง ทำไมถึงเป็นที่นิยม

ศรีกันติยา กล่าวว่า ผลแอคกี่ที่ยังไม่สุกจะมีพิษที่เรียกว่า “ไฮโปไกลซิน” ซึ่งเป็นพิษชนิดเดียวกับที่มีอยู่ในลิ้นจี่ 

ลักษณะที่เป็นพิษของผลแอคกี่เป็นที่ทราบกันดีในจาไมก้าและแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากพืชนี้มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกและถูกนำตัวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างยุคสมัยการค้าทาส

เนื่องจากเป็นผลไม้ประจำชาติและเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศจาไมก้า มันจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารประจำชาติประเทศจาไมก้า ซึ่งเมนูนั้นก็คือ “แอคกี่ปลาเค็ม” แต่ว่าคนในพื้นที่รู้ดีว่าอย่าได้เผลอทานผลดิบ แต่ให้นำมาต้มเพื่อฆ่าพิษก่อนใช้ทำเป็นอาหารคาว

สเปนเซอร์กล่าวว่า “เป็นที่ทราบกันดีในประเทศจาไมก้าว่าถ้าคุณกินผลไม้แอคกี่ที่ยังไม่สุก คุณควรเตรียมตัวที่จะไปโรงพยาบาลหรือให้น้ำตาลหนึ่งช้อนเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลได้เลย” และเขาเสริมอีกว่า กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบมากสุดก็คือเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ขาดสารอาหารซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูน้ำตาลที่ถูกบล็อกจากสารพิษได้ 

ศรีกันติยากล่าว “ประเด็นทั่วไปที่คุณเห็นคือเด็กเล็กที่ไม่รู้ว่าผลไม้ที่ยังไม่สุกสามารถเป็นอันตรายได้”

 

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง นั้นเป็นที่รู้จักดีในประเทศแอฟริกา อเมริกาใต้ แลัในบางส่วนของเอเชีย โดยมันสำปะหลังเป็นผลผลิตที่ให้แคลอรี่ที่สำคัญที่สุดอันดับสามในภูมิภาคเหล่านี้ รองจาก ข้าวโพด และ ข้าว ตามการระบุของธนาคารโลก มันสำปะหลังให้สารอาหารแก่ผู้คนกว่า 600 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละวัน โดยเมนูยอดฮิตคงหนีไปไม่ได้กับ เฟรนช์ฟรายส์ หรือนำไปต้มหรืออบอย่างอร่อยโดยใช้เนื้อเหนียวที่เป็นแป้ง และยังสามารถบดให้เป็นแป้ง

 

แต่เจ้าสิ่งนี้อาจอาจเป็นพิษได้หากไม่ได้ผ่านการผลิตอย่างถูกต้อง

โดยพืชชนิดนี้มีไฮโดรเจนไซยาไนด์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยการแปรรูปเกี่ยวข้องกับการหมัก การอบแห้ง และการปรุงอาหารเพื่อล้างพิษ การกินรากดิบหรือที่ยังไม่แปรรูป นั่นเท่ากับว่าคุณกำลังกินไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อฮอร์โมนไทรอยด์และสามารถทำลายเซลล์ประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวได้ อีกทั้งสารพิษที่มีผลต่อสมอง สามารถทำให้เป็นอัมพาตอย่างกระทันหันและไม่สามารถแก้ไขได้ 

โดยโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอัมพาตเรียกว่า “คอนโซ” และเป็นที่แพร่หลายในภูมิภาค รวมถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้ง ความอดอยาก โดยปัญหาเหล่านี้นำไปสู่คนส่วนใหญ่รับประทานอาหารพืชผลที่ไม่ได้รับการแปรรูป

 

มะเฟือง

มะเฟือง มักจะถูกใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยในบางส่วนของเขตร้อน แต่ถ้านำมาบริโภคผู้ป่วยที่เป็นโรคไต อาจถึงแก่ชีวิตได้  มูลนิธิโรคไตแห่งชาติในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มะเฟืองนั้นมีสารพิษที่ส่งผลต่อสมองและอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมะเฟืองนั้นอาจไม่มีผลต่อผู้ที่มีไตแข็งแรง แต่ผู้ที่มีปัญหาไตเรื้อรังจะไม่สามารถล้างพิษผลไม้ และยังมีโอกาสเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยอาการของพิษจากมะเฟือง ได้แก่ อาการสะอึก สับสน และชัก แต่เมื่อเร็วๆนี้ ก็ได้มีงานวิจัยได้กล่าวว่า มีบางกรณีที่ผู้คนนำมะเฟืองไปใช้เพื่อรักษาอาการอื่นๆ เช่น ยาสมุนไพร เป็นต้น 

 

อ้อย

กรณีที่คุณปลูกอ้อยกินเอง ย่อมไม่เป็นอันตรายใดๆต่อการกิน เพียงแต่อ้อยที่ถูกปลูกทิ้งไว้นานเกินไป ความหวานของอ้อยจะลดลง

เชื้อราในอ้อย : การกินอ้อยที่ขึ้นรา มีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษจากเชื้อราได้ สเปนเซอร์กล่าว “ถ้าเด็กกินเชื้อรานั้น มันอาจทำให้เสียชีวิตหรือเป็นโรคทางระบบประสาทตลอดชีวิต” โดยสารพิษนี้ เป็นอันตรายต่อทุกเพศทุกวัย โดยเด็กและวัยรุ่นมักจะตกเป็นเหยื่อมากกว่า ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (PDF) กล่าวว่า เชื้อราที่เรียกว่าอาร์ทบริเนียม (artbrinium) จะผลิตสารพิษที่อาจทำให้อาเจียน ตาลาย ชัก กระตุก และถึงขั้นโคม่าจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 

 

ถั่วแดง

ถั่วหลายชนิดมีสารพิษที่ชื่อว่า “ไฟโตเฮแมกกลูตินิน” แต่ถั่วแดงดิบมีสารพิษชนิดนี้สูงเป็นพิเศษ ถ้าหากปรุงสุกสารพิษนั้นก็จะน้อยลง จากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการกินถั่วดิบเพียง 4-5 เม็ดก็สามารถทำให้เกิดอาการได้ภายใน 1-3 ชั่วโมง ผู้คนจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง อย่างไรก็ตามผลกระทบมีความรุนแรงน้อยกว่า มันสำปะหลังหรือมะเฟือง ผู้คนมักจะฟื้นตัวค่อนข้างเร็ว ภายใน 3-4 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายก็ยังต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

 

อันตรายหลายอย่างที่มักจะแฝงมากับสิ่งที่เราไม่คาดคิด เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก่อนจะหยิบอะไรเข้าปากในครั้งต่อไป ควรพิจารณาหรือศึกษาข้อมูลให้ดีๆก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยแฝงที่มาพร้อมกับอาหารแม้ว่ามันจะน่ากินแค่ไหนก็ตาม!